The beliefs, values, ideologies and myths that pervade Thai society have always been exploited by the powerful as tools to control, or harmonize, social norms, and set standards for people that are represented as an ideal of Thai "goodness" -- of the perfect subject in a concentric, essentially feudal setup. Gender roles too are used to offer a set of ready-made expectations of what constitutes the right man or the right woman in dichotomous power relations.
Masculinity in Thai society is inextricably bound up with certain ideas of strength and leadership that bind the family and society as a whole. In an ostensibly patriarchal society, masculinity is constructed not only in the family but also in education and national institutions. This covers both entitlements and obligations. Ordination as a monk to repay the debt of gratitude towards parents is one such unquestionable duty. Becoming a soldier, understood as a warrior, is in principle mandated by law to repay a young man's debt to the kind, familial nation, and failure to do so can mark him as a bad person who is cast out of the tightly wound circles of society. This conception of a man as a monk-solder also often requires certain behavioral displays that may strike foreigners as peculiar but are intended to demarcate the boundaries with unmanliness, which equates to being in error or "bad".
Funded by the International Relief Fund for Organisations in Culture and Education 2021
of the German Federal Foreign Office, the Goethe-Institut and other partners. goethe.de/relieffund
หากสำรวจไปรอบๆจะพบว่าเราในฐานะคนไทย กำลังอยู่ในสังคมที่สุรุ่ยสุร่ายไปด้วยชุดความเชื่อ ค่านิยม อุดมคติ และมายาคติ ที่ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการควบคุม จัดระเบียบ และสร้างบรรทัดฐานทางสังคม พยายามตั้งค่าให้แต่ละคนมุ่งเข้าไปสู่ความดีงามแบบไทย โดยเฉพาะการยึดโยงเพศภาพไว้กับบทบาทและชุดความคาดหวังแบบสำเร็จรูป ที่กำลังกดทับความหลากหลายทางเพศ ด้วยความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่จำแนกให้มีแค่เพศหญิง-เพศชาย
เมื่อกล่าวถึงความเป็น “ชาย” ในสังคมไทย คงไม่สามารถหลีกเลี่ยงจากกรอบของ ความเข้มเเข็ง ความเป็นผู้นำ ที่ผูกติดกับความคาดหวังของครอบครัวและสังคม ภายใต้บริบทชายเป็นใหญ่ การเป็นชายไทยในอุดมคติจึงถูกผลิตซ้ำอยู่ในสถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา และสถาบันชาติ การบวชทดแทนพระคุณพ่อแม่กลายเป็นบรรทัดฐานทางจารีตที่ปฏิเสธต่อการตั้งคำถามถึงความสำคัญ รวมถึงขอบเขตทางเพศที่ดูจะกลายเป็นสิ่งต้องห้ามในการกล่าวถึง และการเป็นชายชาติทหาร กลายเป็นกฏหมายต้องโทษต่อผู้ละเลยการทดแทนบุญคุณแผ่นดิน และเส้นทางสู่การเป็นคนดีตามค่านิยมของสังคม ทั้งหมดเหล่านี้เป็นการแสดงถึงความเป็นชาย ที่ซึ่งปฏิเสธความไม่เป็นชาย อันจะนำไปสู่ความผิดบาปหรือผิดแผกในภารกิจของลูกผู้ชายตามมายาคติแบบไทย