RasaDrums - the term is a combination of the words ‘Rasadorn’ meaning the people and drums – was officially initiated around mid 2020 by the two leaders from different theater-artist groups as well as active citizens. They started with a few people and later put out a call for more to organize a theatrical performance about 99 deaths during 2010 crackdowns on red-shirt protesters in Bangkok. Young actors, performers, and musicians organically became part of RasaDrums after being recruited. At first, they used paint buckets until they fell apart, and the Mirror Foundation leader who is also a renowned activist, decided to support them by donating the drums to the group. From then on, they have officially named themselves RasaDrums.
Project PRY 02 x RasaDrums is a collaboration of curatorial and artistic practices to create of a new platform for contemporary artwork that goes beyond the orthodox gallery space or artist studio― to address ecology, to embed curators and artists working with a group or community whose works are directly related to socio-political to define and enact social change.
•••
About Artworks
RasaDrums: A Beat Of The Defiant By Soifa Saenkhamkon and Tippawan Narintorn
The sound of the drums beaten by diverse groups of people and the vibration of their rhythm exhilarate and encourage those on the road and vocalize people's power for real democracy. While the vibration is like a comforting friend, the sound is full of emotions, forwarding endlessly from one to one another until justice is served. RasaDrums is an expression of a desire to participate in the demand for democracy, and the drum is the tool to send out emotions, inspiration, rhythm to everyone to keep fighting and holding their ground.
RasaDrums: A Beat Of The Defiant is presented through the format of a video archive recording the conversations among RasaDrums members, with the movement and thumping rhythm reverberating in the area and in the mind.
RasaDrums: A Beat Of The Defiant
artist: Soifa Saenkhamkon and Tippawan Narintorn
production year: 2022
medium: video archives
material/technic: projector, speaker, digital photo-frame
sound: dialog, ambience and background music
dimension: variable
video: single channel video
color or bw: color
duration: 17.58 mins / 5.35 mins
language/subtitle: Thai, with English subtitles
film editor: Kamontorn Eakwattanakij
The Curtain Appears by Nat Settana
It started two years ago, both the rumbling in the streets and insomnia. A series of earthquakes that happened in the Thai socio-political sphere created a rupture between generations. Consistently, it has changed the landscape of the Thai political society. The impact it made is gradually getting wider, and perhaps even broader than what many imagined. There are calls for a major restructuring of the state in the streets and within the cultural realm. Nonetheless, the louder the ripple makes noise, the more violent the reaction of the state power is. Just to silence the noise outside, or at the very least, throw the public criticism and curse back under the carpet, both law and violence have been used so that the opposition activists are arrested and are finally suppressed. Although the obsolete state mechanisms try so hard to prevent the changes as if it were a concrete wall, the waves of change will surge over this appearing fortress until they eventually collapse.
The Curtain Appears is an artistic practice that explores the flow between private and public spaces within the sphere of political activism in Thailand. Functioning as a spatial tool to separate space, the term "curtain" is used as a lens and metaphor to articulate this particular topic. The curtain, in this case, may refer not only to the physical space like a concrete wall, but also the imaginary one.
Artworks
The Curtain Appears
artist: Nat Setthana
production year: 2022
medium: installation
material/technic: projector, photographic images, calendar, writing
sound: ambience
dimension: variable
video: single channel video
color or bw: multicolor
duration: loop
language/subtitle: English subtitles
special thanks
printmaker: Poom Wisidwinyoo
sound engineer: Siriwat Tangmanokunkit
art handlers: Thanee Boonrawdcharoen
Chapter 1 (link to PDF art)
The Curtain Appears (link to PDF art)
ราษฎร์ดรัมส์ เป็นการรวมคำแบบสมาสระหว่าง 'ราษฎร' ซึ่งหมายถึงประชาชน และ 'กลอง' ที่เป็นกลุ่มเครื่องดนตรีประเภทเพอร์คัชชัน ราษฎร์ดรัมส์ ก่อตั้งอย่างเป็นทางการประมาณกลางปี 2563 โดยผู้นำสองคนจากกลุ่มศิลปินการละคร ทั้งยังเป็นพลเมืองนักเคลื่อนไหว พวกเขาเริ่มต้นจากสมาชิกไม่กี่คนและต่อมาได้เปิดรับสมัครทีมงานเพื่อร่วมจัดการแสดงละครเกี่ยวกับผู้วายชนม์ 99 ราย ระหว่างการปราบปรามผู้ประท้วงเสื้อแดงในกรุงเทพฯ เมื่อปี 2553 ยังผลให้มีเยาวชนซึ่งบ้างเป็นศิลปินละครเวที นักแสดง และนักดนตรี ได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของ ราษฎร์ดรัมส์ โดยธรรมชาติหลังจากมีการรับคัดเลือกจำนวนมากขึ้น ในตอนแรกพวกเขาเพียงนำถังสีมาใช้เป็นเครื่องดนตรีจนกระทั่งมันพังลง หลังจากนั้นประธานฯ มูลนิธิกระจกเงาซึ่งเป็นนักเคลื่อนไหวทางสังคมและการเมืองที่มีชื่อเสียงได้ตัดสินใจสนับสนุนพวกเขาด้วยการบริจาคกลองให้กับกลุ่ม จากนั้นเป็นต้นมาพวกเขาได้ตั้งชื่อตัวเองว่า ราษฎร์ดรัมส์ อย่างเป็นทางการ
WTF แกลอรี่ภูมิใจนำเสนอโปรเจกต์ไพร่ 02 X ราษฎร์ดรัมส์ ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างภัณฑารักษ์และศิลปินที่เน้นแนวปฏิบัติทางศิลปะที่เพื่อสร้างเวทีใหม่เพื่อแสดงผลงานศิลปะร่วมสมัย ที่ทะลุกรอบพื้นที่แสดงศิลปะแบบเดิม หรือการทำงานของศิลปินในสตูดิโอ เพื่อให้เห็นถึงระบบนิเวศของศิลปะ รวมทั้งฝังทั้งตัวภัณฑารักษ์และศิลปินเข้ากับชุมชน หรือกลุ่มนักกิจกรรมที่มีผลงานเกี่ยวข้องโดยตรงกับสังคมและการเมืองเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงทางสังคม
เกี่ยวกับงานศิลปะ
ราษฎร์ดรัมส์: เสียงกลองจากราษฎร โดย สร้อยฟ้า แสนคำก้อน และ ทิพย์วรรณ นรินทร
เสียงกลองที่ถูกตีด้วยกลุ่มคนที่หลากหลาย แรงสั่นสะเทือนจากจังหวะกลอง สร้างความรู้สึกฮึกเหิม ก่อเกิดกำลังใจในระหว่างที่เราทุกคนต่างอยู่บนถนน เพื่อเปล่งเสียง แสดงพลังของประชาชนผู้ต้องการประชาธิปไตยที่แท้จริง แรงสั่นสะเทือนของกลอง ทำหน้าที่เป็นเพื่อนปลอบประโลม เสียงกลองที่เต็มไปด้วยความรู้สึก ส่งต่อกันไปไม่สิ้นสุด จนกว่าความยุติธรรมจะเกิดขึ้นจริง การจับไม้ตีกลองของเหล่า “ราษฎร์ดรัมส์” คือการแสดงออกถึงความต้องการมีส่วนร่วมในการเรียกร้องประชาธิปไตย เป็นความต้องการแบบเดียวกับผู้ชุมนุม และกลองคือเครื่องมือส่งผ่านความรู้สึก ส่งต่อแรงบันดาลใจ ส่งต่อจังหวะ สร้างความหนักแน่นให้ทุกคนยืนหยัดต่อสู้
เสียงกลองจากราษฎร นำเสนอในรูปแบบ video archive บันทึกบทสนทนากับ “ราษฎร์ดรัมส์” การขับเคลื่อนและจังหวะกลองที่ส่งเสียงทั้งในพื้นที่และจิตใจ
ราษฎร์ดรัมส์: เสียงกลองจากราษฎร
ศิลปิน: สร้อยฟ้า แสนคำก้อน และ ทิพย์วรรณ นรินทร
ปีที่ผลิต: พ.ศ. 2565
สื่อ: วิดีโอบันทึก
วัสดุ/เทคนิค: โปรเจ็กเตอร์ ลำโพง กรอบรูปดิจิตอล
เสียง: บทสนทนา บรรยากาศ ดนตรีประกอบ
ขนาด: ผันแปรตามพื้นที่
วิดีโอ: หนึ่งจอ
สี/ขาว-ดำ: สี
ความยาว: 17.58 นาที / 5.35 นาที
ภาษา/คำบรรยาย: บทสนทนาภาษาไทย และคำบรรยายภาษาอังกฤษ
ลำดับภาพ: กมลธร เอกวัฒนกิจ
The Curtain Appears โดย ณัท เศรษฐ์ธนา
มันเริ่มต้นเมื่อสองปีที่แล้ว ทั้งเสียงอื้ออึงบนท้องถนนและอาการนอนไม่หลับ แผ่นดินไหวหลายระลอกที่เกิดขึ้นในพื้นที่สังคมการเมืองไทยได้สร้างรอยเลื่อนของยุคสมัยขึ้น มันปรับเปลี่ยนภูมิทัศน์ของสังคมไทยไปทีละน้อย ผลกระทบของมันค่อย ๆ กว้างขึ้นและอาจจะกว้างกว่าที่หลายคนคาดฝันไว้ด้วยซ้ำ มีการเรียกร้องให้ปรับเปลี่ยนโครงสร้างของรัฐขนานใหญ่ทั้งในพื้นที่ของการเมืองบนท้องถนนและในปริมณฑลทางสังคมวัฒนธรรม อย่างไรก็ตาม ยิ่งแรงกระเพื่อมที่เกิดขึ้นเปล่งเสียงดังมากเท่าไร ปฏิกริยาโต้ตอบของผู้ถือครองอำนาจรัฐก็รุนแรงตามไปด้วย เพียงเพื่อจะทำให้เสียงอื้ออึงภายนอกเงียบลง หรืออย่างน้อยที่สุดก็หวังเพียงให้เสียงวิพากษ์วิจารณ์หรือการก่นด่าสาปแช่งในที่แจ้งถูกเขี่ยกลับลงไปอยู่ใต้พรมดังเดิม พวกเขาใช้ทั้งกฎหมายและความรุนแรงเข้ากดปราบจับกุมผู้เห็นต่างทางการเมืองอย่างถึงที่สุด ถึงแม้ว่ากลไกรัฐหลงยุคล้าสมัยจะทำตัวเป็นกำแพงคอนกรีตขวางกั้นการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้สักแค่ไหน แต่คลื่นของความเปลี่ยนแปลงจะถาโถมเข้าใส่ปราการที่ปรากฎขึ้นจนพังครืนลงในที่สุด
The Curtain Appears ผลงานศิลปะที่สำรวจการไหลเข้าหากันระหว่างพื้นที่ส่วนตัวและพื้นที่ส่วนรวมภายใต้ขอบเขตของการเคลื่อนไหวทางการเมืองในประเทศไทย ม่านถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือทางความคิดและอุปมาอุปมัยเพื่อทำความเข้าใจเส้นแบ่งระหว่างพื้นที่ทั้งสอง ม่านในกรณีนี้อาจอ้างอิงถึงพื้นที่เชิงกายภาพเช่นกำแพงคอนกรีตหรือพื้นที่ทางจินตภาพที่มองไม่เห็น
The Curtain Appears
ศิลปิน: ณัท เศรษฐ์ธนา
ปีที่ผลิต: พ.ศ. 2565
สื่อ: สื่อผสมจัดวาง
วัสดุ/เทคนิค: โปรเจ็กเตอร์ ภาพถ่าย ปฎิทิน งานเขียน
เสียง: บรรยากาศ
ขนาด: ผันแปรตามพื้นที่
วิดีโอ: หนึ่งจอ
สี/ขาว-ดำ: สี และ ขาว-ดำ
ความยาว: วนลูป
ภาษา/คำบรรยาย: คำบรรยายภาษาอังกฤษ
ขอขอบคุณ
ภาพพิมพ์ โดย ภูมิ วิศิษฏ์วิญญู
ออกแบบเสียง โดย สิริวัชร์ ตั้งมโนกุลกิจ
ติดตั้งนิทรรศการ โดย ธานี บุญรอดเจริญ
Calendar 1 (กดเพื่อดูผลงาน)
The Curtain Appears (กดเพื่อดูผลงาน)
Curator Statement
Even though Thailand so far has curbed the COVID-19 pandemic, it faces a severe economic shock that will deepen existing inequalities and is likely to fan smoldering political tensions. Already facing questions about its legitimacy following a 2019 election marred by irregularities, the military-backed Thai government has been hard pressed to meet the needs of a population facing massive unemployment, loss of income and rising debt, leading to severe inequality and rising poverty. The fundamental problem is political: the reforms necessary to upgrade Thailand’s economy run counter to the interests of the country’s elite. What is needed is a new constitution that allows for articulation of popular interests through elected representatives and accountable institutions. The coronavirus, auguring the biggest economic shock since the 1997-1998 financial crisis, could hasten a social, economic and political reckoning. [1]
As a consequence, the current protests in Thailand as demonstrations against the government of Prime Minister Prayut Chan-o-cha have begun since early 2020. It later included the unprecedented demands for reform of the Thai monarchy. The protests were also partially triggered by the dissolution of the Future Forward Party (FFP) in late February 2020 which was critical of Prayut, the changes to the Thai constitution in 2017 and the country’s political landscape that it gave rise to. The disbandment of FFP who gained 6 million votes in the last election had urged young voters’ anger. Thousands of university and high school students held demonstrations in campuses all over the country. No one has ever seen student demonstrations on this scale since the 1990s when they joined the crowds that overthrew a military government led by General Suchinda Kraprayoon. It was the beginning period where a tremendous amount of Thai youth started to join demonstrations, so as a group who called themselves RasaDrums.
The term is a combination of the words ‘Rasadorn’ meaning the people and ‘Drums’ a member of the percussion group of musical instruments. The group was officially initiated around mid-2020 by the two leaders from different theater-artist groups as well as active citizens. They started with a few people and later opened a call for more crew to organize a theatrical performance about 99 deaths during 2010 crackdowns on red-shirt protesters in Bangkok. Correspondingly, more youth who some are theater artists, performers, and musicians organically became part of RasaDrums after being recruited. At first, they had used paint buckets as their musical instrument until they wrecked. Thereafter, the Mirror Foundation leader who is also a renowned socio-political activist decided to support them by donating the drums to the group. From then on, they have officially named themselves RasaDrums.
For Project-PRY#2 X RasaDrums, the curators aim to investigate and illustrate the history and ideology of such a group of activist artists performing side by side with the socio-political demonstrators; how and if they might have played an important role and be able to pass on sonic vibration and rhythmic diversity among social, cultural, economic and political reckoning during the past two years. The artworks are presented as video archives based on casting directors/filmmakers’ point of view, as well as a conceptual piece where an artist enquires the ideological flow between private and public spaces within the sphere of political activism in Thailand through his individual's semi-fictional narrative. In addition, a scholar/art critic/cultural activist is invited to share critical thinking over musical performance as Aesthetics of Resistance.
…Once sound and musical rhythm become part of socio-political movements, they construct noise annoyance while creating an energetic echo at the same time. It is only a matter of time to reveal if, how and when such rhythmical resonance could plant into the heart of the defiant…
[1] COVID-19 and a Possible Political Reckoning in Thailand
Penwadee Nophaket Manont
March 2022
Academic Statement
PROJECT PRY 02 – RASADRUMS
Drum rolls: a wakeup sound for the unyielding fighter’s spirits
“If you hear the music playing Go back and call your troopers
It’s a tune for commoners Ordinary people like us
If you hear heavy drum pounding It’s a stomping of people
Bursting with the force of the free Folks under the same canopy
The stars still luminate lights Shining bright in the dark distant sky
Our minds united, our faith solidified Fight to the day of the victory
Claps your hand like drumrolls Holler out so no one can deny
Our rights to freedom as long as we shall breathe
Hold hands and march forward We are friends” *
The lyrics above belongs to a song, “We are friends,” by a band named Samanchon or “Commoners.” Reticent, the sentence remains powerful and stimulating amidst the protest against injustice power. This song burst out first time in the rainy season of June 2015 during the trial for the case against a one-year commemoration of the coup d'état (22 May 2014) in the military court. Since then, the song has been chanted from all directions, paving the ways for brave souls to gather, bellow their hearts, walk hands in hands and declare that we are friends. It is an epic poem of the zeitgeist, an age of rallying for rights, freedom, and democracy that are stolen and trampled upon over and over by the tyrannical demons of capitalist, warlords and feudalists.
“If you hear heavy drum pounding, it’s a stomping of people.” These few words hold both metaphor and symbol that create the linguistic manifesto of the drums in comparison with the thudding sound of feet that instigate and wake the commoners to claim their rights, freedom and democracy –all of which are their bodily legacies that cannot be deprived by any dictatorial forces. The lyrics wake them up to fight and reclaim their bodily treasures that are worth more than any celestial objects which were burnt pennilessly.
Without rights, freedom, democracy, dignity and equality, every ordinary person would not be any different from grotesque corpse of a soulless object, only appearances and rotten decadence that decay uselessly in a world full of exploitative powers.
The (military) drums that have been hammered thunderously from past to present are fueled with banging drum sounds like a raging storm destroying town-people. With rough hands beating batter head, two arms lifting, moving rhythmically, two legs marching towards the enemies with (the sound) of war drums… Claps your hand like drumrolls. Holler out so no one can deny…
The drum roll of RasaDrums performers echoed through Bangkok from the Ratchadamnoen Road to Sanam Luang to Ratchaprasong to the Parliament House at Kiakkai, united with the sound of commoners joined in the fight against capitalists, warlords, feudalists and dictators who sieged the country since the Siamese Revolution of 1932. Even though the name of RasaDrums was not yet coined then, the performers of bin and bucket clanking were gathered at the leaderless protest at Ha Yak Lat Phrao on 17 October 2020, a domino from the continuous protests of 14 October 2021 before the crackdown and arrest around the Parliament House on the night of 15 October 2021.
RasaDrums, the sound of art performers through the skin of the drum, joined force to oust dictators with commoners who has dreamt of democracy since the sunray was perpendicular to the earth until the setting sun during the Mob Fest in November 2020. From that time on the sound of RasaDrums with the drum rolls has been arm-in-arm with other artistic movements demanding back rights, freedom, democracy, and human dignity to our bodies and souls perseveringly.
The sound of the drums reverberates the land of the repressed and wake those still asleep from dreams to see the truth hidden underneath the emperor’s golden cloth, sloughed off the dead skin of the dictators, unveiling rancid and putrid organs.
The drum concept of RasaDrums and other artistic presentation; namely, color splashing, phrases, texts, caricatures, sarcasm, cartoon, graffiti, live performance, street music, Mor Lam (northeastern folk music), etc., are artistic practices and crucial tools to defy centralized state power by breaking down walls of institutions of formal education, art and culture controlled by the state. These concepts strike and disenchant the state-governed artistic and cultural structure through the Artistic Activist Movement and Plebeian Aesthetic.
The Artistic Activist Movement and Plebeian Aesthetic is a process of criticism through the artistic practice of ordinary people. It is a practice and reproduction of what opposes the state-centralized art and culture through using all dimensions of common people as a foundation of movement without limiting the concepts for the action. We all believe in the collective power of presentation and diverse expressions to build the Aesthetics of Resistance as far and wide as the drums of the people.
Plebeian artistic movement or Project Pry may sound embarrassing to speak of as they differ from the perceived art and perspectives of the art elites in the society. Yet, it is easy to believe that the movements and changes in art and culture – all major waves in the 21st Century art world – have been caused by ripples and the tsunami from ideas and practices from the collective common people. This is because they are the most dynamically concrete driving forces for the power of criticism through artistic movements and practices.
May the victorious drums of the common people and artistic practices thrive!
Reference;
We are friends by Samanchon
The Aesthetics of Resistance, Peter Weiss (2005) Durham & London, Duke University Press.
Thanom Chapakdee; The Isaan Record; 5 October 2021
Thanom Chapakdee
February 2022
*Special Thanks to Voice TV
Project PRY is Funded by the International Relief Fund of the German Federal Foreign Office, the Goethe-Institut, and other partners: www.goethe.de/relieffund
โปรเจกต์ไพร่ 02 X ราษฎร์ดรัมส์
22 มีนาคม - 8 พฤษภาคม 2565
WTF แกลลอรี่ กรุงเทพฯ
ศิลปินและภัณฑารักษ์
ศิลปิน: สร้อยฟ้า แสนคำก้อน, ทิพย์วรรณ นรินทร, ณัท เศรษฐ์ธนา
ภัณฑ์รักษ์: เพ็ญวดี นพเกตุ มานนท์
ภัณฑ์รักษ์ร่วม: สมรัก ศิลา
นักวิชาการ/นักเคลื่อนไหวด้านวัฒนธรรม: ถนอม ชาภักดี
WTF แกลอรี่ภูมิใจนำเสนอโปรเจกต์ไพร่ 02 X ราษฎร์ดรัมส์ ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างภัณฑารักษ์และศิลปินที่เน้นแนวปฏิบัติทางศิลปะที่เพื่อสร้างเวทีใหม่เพื่อแสดงผลงานศิลปะร่วมสมัย ที่ทะลุกรอบพื้นที่แสดงศิลปะแบบเดิม หรือการทำงานของศิลปินในสตูดิโอ เพื่อให้เห็นถึงระบบนิเวศของศิลปะ รวมทั้งฝังทั้งตัวภัณฑารักษ์และศิลปินเข้ากับชุมชน หรือกลุ่มนักกิจกรรมที่มีผลงานเกี่ยวข้องโดยตรงกับสังคมและการเมืองเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงทางสังคม
ราษฎร์ดรัมส์ เป็นการรวมคำแบบสมาสระหว่าง 'ราษฎร' ซึ่งหมายถึงประชาชน และ 'กลอง' ที่เป็นกลุ่มเครื่องดนตรีประเภทเพอร์คัชชัน ราษฎร์ดรัมส์ ก่อตั้งอย่างเป็นทางการประมาณกลางปี 2563 โดยผู้นำสองคนจากกลุ่มศิลปินการละคร ทั้งยังเป็นพลเมืองนักเคลื่อนไหว พวกเขาเริ่มต้นจากสมาชิกไม่กี่คนและต่อมาได้เปิดรับสมัครทีมงานเพื่อร่วมจัดการแสดงละครเกี่ยวกับผู้วายชนม์ 99 ราย ระหว่างการปราบปรามผู้ประท้วงเสื้อแดงในกรุงเทพฯ เมื่อปี 2553 ยังผลให้มีเยาวชนซึ่งบ้างเป็นศิลปินละครเวที นักแสดง และนักดนตรี ได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของ ราษฎร์ดรัมส์ โดยธรรมชาติหลังจากมีการรับคัดเลือกจำนวนมากขึ้น ในตอนแรกพวกเขาเพียงนำถังสีมาใช้เป็นเครื่องดนตรีจนกระทั่งมันพังลง หลังจากนั้นประธานฯ มูลนิธิกระจกเงาซึ่งเป็นนักเคลื่อนไหวทางสังคมและการเมืองที่มีชื่อเสียงได้ตัดสินใจสนับสนุนพวกเขาด้วยการบริจาคกลองให้กับกลุ่ม จากนั้นเป็นต้นมาพวกเขาได้ตั้งชื่อตัวเองว่า ราษฎร์ดรัมส์ อย่างเป็นทางการ
สำหรับโครงการ โปรเจกต์ไพร่ 02 X ราษฎร์ดรัมส์ ภัณฑารักษ์มุ่งสำรวจและนำเสนอประวัติศาสตร์ ที่มาและอุดมการณ์ของกลุ่มศิลปินนักเคลื่อนไหวที่ทำการแสดงและยืนเคียงข้างกับผู้ชุมนุมประท้วงทางสังคมและการเมือง พวกเขาอาจมีบทบาทสำคัญและสามารถส่งต่อการสั่นสะเทือนของเสียงและความหลากหลายของจังหวะได้หรือไม่...อย่างไร ท่ามกลางชะตากรรมทางสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และการเมืองไทยในช่วงสองปีที่ผ่านมา? ผลงานถูกนำเสนอในรูปแบบวิดีโอบันทึกผ่านมุมมองของ ผู้คัดเลือกนักแสดง/นักทำภาพยนตร์ และในรูปแบบคอนเซ็ปชวลอาร์ตที่ศิลปินตั้งคำถามต่อกระแสแห่งอุดมการณ์ทางความคิดระหว่างพื้นที่ส่วนตัวและพื้นที่ส่วนรวม ภายใต้ขอบเขตของการเคลื่อนไหวทางการเมืองในประเทศไทย ผ่านการเล่าเรื่องกึ่งสมมุติในระดับปัจเจก นอกจากนั้น นักวิชาการ/นักวิจารณ์ศิลปะ/นักเคลื่อนไหวด้านวัฒนธรรม ยังถูกเชื้อเชิญมาร่วมแบ่งปันแนวคิดเชิงวิพากษ์ว่าด้วยการแสดงดนตรีในฐานะสุนทรียศาสตร์แห่งการต่อต้าน
เกี่ยวกับงานศิลปะ
ราษฎร์ดรัมส์: เสียงกลองจากราษฎร โดย สร้อยฟ้า แสนคำก้อน และ ทิพย์วรรณ นรินทร
เสียงกลองที่ถูกตีด้วยกลุ่มคนที่หลากหลาย แรงสั่นสะเทือนจากจังหวะกลอง สร้างความรู้สึกฮึกเหิม ก่อเกิดกำลังใจในระหว่างที่เราทุกคนต่างอยู่บนถนน เพื่อเปล่งเสียง แสดงพลังของประชาชนผู้ต้องการประชาธิปไตยที่แท้จริง แรงสั่นสะเทือนของกลอง ทำหน้าที่เป็นเพื่อนปลอบประโลม เสียงกลองที่เต็มไปด้วยความรู้สึก ส่งต่อกันไปไม่สิ้นสุด จนกว่าความยุติธรรมจะเกิดขึ้นจริง การจับไม้ตีกลองของเหล่า “ราษฎร์ดรัมส์” คือการแสดงออกถึงความต้องการมีส่วนร่วมในการเรียกร้องประชาธิปไตย เป็นความต้องการแบบเดียวกับผู้ชุมนุม และกลองคือเครื่องมือส่งผ่านความรู้สึก ส่งต่อแรงบันดาลใจ ส่งต่อจังหวะ สร้างความหนักแน่นให้ทุกคนยืนหยัดต่อสู้
เสียงกลองจากราษฎร นำเสนอในรูปแบบ video archive บันทึกบทสนทนากับ “ราษฎร์ดรัมส์” การขับเคลื่อนและจังหวะกลองที่ส่งเสียงทั้งในพื้นที่และจิตใจ
ราษฎร์ดรัมส์: เสียงกลองจากราษฎร
ศิลปิน: สร้อยฟ้า แสนคำก้อน และ ทิพย์วรรณ นรินทร
ปีที่ผลิต: พ.ศ. 2565
สื่อ: วิดีโอบันทึก
วัสดุ/เทคนิค: โปรเจ็กเตอร์ ลำโพง กรอบรูปดิจิตอล
เสียง: บทสนทนา บรรยากาศ ดนตรีประกอบ
ขนาด: ผันแปรตามพื้นที่
วิดีโอ: หนึ่งจอ
สี/ขาว-ดำ: สี
ความยาว: 17.58 นาที / 5.35 นาที
ภาษา/คำบรรยาย: บทสนทนาภาษาไทย และคำบรรยายภาษาอังกฤษ
ลำดับภาพ: กมลธร เอกวัฒนกิจ
The Curtain Appears โดย ณัท เศรษฐ์ธนา
มันเริ่มต้นเมื่อสองปีที่แล้ว ทั้งเสียงอื้ออึงบนท้องถนนและอาการนอนไม่หลับ แผ่นดินไหวหลายระลอกที่เกิดขึ้นในพื้นที่สังคมการเมืองไทยได้สร้างรอยเลื่อนของยุคสมัยขึ้น มันปรับเปลี่ยนภูมิทัศน์ของสังคมไทยไปทีละน้อย ผลกระทบของมันค่อย ๆ กว้างขึ้นและอาจจะกว้างกว่าที่หลายคนคาดฝันไว้ด้วยซ้ำ มีการเรียกร้องให้ปรับเปลี่ยนโครงสร้างของรัฐขนานใหญ่ทั้งในพื้นที่ของการเมืองบนท้องถนนและในปริมณฑลทางสังคมวัฒนธรรม อย่างไรก็ตาม ยิ่งแรงกระเพื่อมที่เกิดขึ้นเปล่งเสียงดังมากเท่าไร ปฏิกริยาโต้ตอบของผู้ถือครองอำนาจรัฐก็รุนแรงตามไปด้วย เพียงเพื่อจะทำให้เสียงอื้ออึงภายนอกเงียบลง หรืออย่างน้อยที่สุดก็หวังเพียงให้เสียงวิพากษ์วิจารณ์หรือการก่นด่าสาปแช่งในที่แจ้งถูกเขี่ยกลับลงไปอยู่ใต้พรมดังเดิม พวกเขาใช้ทั้งกฎหมายและความรุนแรงเข้ากดปราบจับกุมผู้เห็นต่างทางการเมืองอย่างถึงที่สุด ถึงแม้ว่ากลไกรัฐหลงยุคล้าสมัยจะทำตัวเป็นกำแพงคอนกรีตขวางกั้นการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้สักแค่ไหน แต่คลื่นของความเปลี่ยนแปลงจะถาโถมเข้าใส่ปราการที่ปรากฎขึ้นจนพังครืนลงในที่สุด
The Curtain Appears ผลงานศิลปะที่สำรวจการไหลเข้าหากันระหว่างพื้นที่ส่วนตัวและพื้นที่ส่วนรวมภายใต้ขอบเขตของการเคลื่อนไหวทางการเมืองในประเทศไทย ม่านถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือทางความคิดและอุปมาอุปมัยเพื่อทำความเข้าใจเส้นแบ่งระหว่างพื้นที่ทั้งสอง ม่านในกรณีนี้อาจอ้างอิงถึงพื้นที่เชิงกายภาพเช่นกำแพงคอนกรีตหรือพื้นที่ทางจินตภาพที่มองไม่เห็น
The Curtain Appears
ศิลปิน: ณัท เศรษฐ์ธนา
ปีที่ผลิต: พ.ศ. 2565
สื่อ: สื่อผสมจัดวาง
วัสดุ/เทคนิค: โปรเจ็กเตอร์ ภาพถ่าย ปฎิทิน งานเขียน
เสียง: บรรยากาศ
ขนาด: ผันแปรตามพื้นที่
วิดีโอ: หนึ่งจอ
สี/ขาว-ดำ: สี และ ขาว-ดำ
ความยาว: วนลูป
ภาษา/คำบรรยาย: คำบรรยายภาษาอังกฤษ
ขอขอบคุณ
ภาพพิมพ์ โดย ภูมิ วิศิษฏ์วิญญู
ออกแบบเสียง โดย สิริวัชร์ ตั้งมโนกุลกิจ
ติดตั้งนิทรรศการ โดย ธานี บุญรอดเจริญ
Chapter One (please add the THAI link or post these two works from files attached - Chapter One and Calendar)
Calendar
บทความจากภัณฑรักษ์
แม้ประเทศไทยจะควบคุมการระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้จนถึงขณะนี้ แต่ประเทศกลับต้องเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำอย่างรุนแรง สร้างความไม่เท่าเทียมที่มีอยู่เดิมให้ลึกลงไปอีก ซึ่งมีแนวโน้มจะกระพือความตึงเครียดทางการเมืองอันร้อนระอุ นอกจากต้องเผชิญกับคำถามด้านความชอบธรรมหลังการเลือกตั้งปี 2562 ซึ่งเต็มไปด้วยสิ่งไม่ชอบมาพากล รัฐบาลไทยที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทัพยังถูกกดดันอย่างหนักเพื่อตอบสนองประชาชนที่เผชิญการว่างงานจำนวนมาก การสูญเสียรายได้ และหนี้สินที่เพิ่มสูงขึ้น ตอกย้ำความยากจนและความไม่เท่าเทียมอย่างรุนแรง เมื่อรากเหง้าของปัญหาที่แท้จริงคือการเมือง การปฏิรูปจึงเป็นสิ่งจำเป็นในการยกระดับเศรษฐกิจซึ่งย้อนแย้งกับผลประโยชน์ของชนชั้นสูงในประเทศนี้ มีเพียงรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่จักสามารถส่งเสียงเรียกร้องผลประโยชน์ของประชาชนผ่านตัวแทนที่มาจากการเลือกตั้งและสถาบันที่เชื่อถือได้ วิกฤตไวรัสโคโรน่าซึ่งเป็นวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่วิกฤตการเงินในปี 2540-2541 อาจเป็นตัวเร่งชะตากรรมทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองไทย [1]
ด้วยเหตุนี้ การประท้วงในประเทศไทยยุคปัจจุบันเพื่อต่อต้านรัฐบาลของนายกรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา จึงเริ่มขึ้นตั้งแต่ต้นปี 2563 ซึ่งต่อมาได้รวมข้อเรียกร้องที่ไม่เคยปรากฎมาก่อนว่าด้วยการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ไทย ชนวนเหตุหนึ่งของการชุมนุมประท้วงเกิดจากการยุบพรรคอนาคตใหม่เมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ซึ่งวิพากษ์วิจารณ์พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา การเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญในปี 2560 และภูมิทัศน์ทางการเมืองของประเทศที่เป็นผลพวงของประเด็นดังกล่าว การยุบพรรคอนาคตใหม่ผู้ได้รับคะแนนเสียงถึง 6 ล้านเสียงในการเลือกตั้งครั้งล่าสุดกระตุ้นให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งรุ่นเยาว์ไม่พอใจ นักเรียนมหาวิทยาลัยและมัธยมปลายหลายพันคนจัดการประท้วงในวิทยาเขตทั่วประเทศ ไม่เป็นที่ปรากฏว่ามีการประท้วงของนักเรียนนักศึกษาจำนวนมากขนาดนี้ตั้งแต่ช่วงปี 2535 เมื่อพวกเขาเข้าร่วมการโค่นล้มรัฐบาลทหารที่นำโดย พล.อ.สุจินดา คราประยูร การชุมนุมประท้วงในปี 2563 จึงถือเป็นช่วงเริ่มต้นที่เยาวชนไทยจำนวนมากเข้าร่วม รวมทั้งกลุ่มที่เรียกตัวเองว่า ราษฎร์ดรัมส์
โดยชื่อดังกล่าวเป็นการรวมคำแบบสมาสระหว่าง 'ราษฎร' ซึ่งหมายถึงประชาชน และ 'กลอง' ที่เป็นกลุ่มเครื่องดนตรีประเภทเพอร์คัชชัน ราษฎร์ดรัมส์ ก่อตั้งอย่างเป็นทางการประมาณกลางปี 2563 โดยผู้นำสองคนจากกลุ่มศิลปินการละคร ทั้งยังเป็นพลเมืองนักเคลื่อนไหว พวกเขาเริ่มต้นจากสมาชิกไม่กี่คนและต่อมาได้เปิดรับสมัครทีมงานเพื่อร่วมจัดการแสดงละครเกี่ยวกับผู้วายชนม์ 99 ราย ระหว่างการปราบปรามผู้ประท้วงเสื้อแดงในกรุงเทพฯ เมื่อปี 2553 ยังผลให้มีเยาวชนซึ่งบ้างเป็นศิลปินละครเวที นักแสดง และนักดนตรี ได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของ ราษฎร์ดรัมส์ โดยธรรมชาติหลังจากมีการรับคัดเลือกจำนวนมากขึ้น ในตอนแรกพวกเขาเพียงนำถังสีมาใช้เป็นเครื่องดนตรีจนกระทั่งมันพังลง หลังจากนั้นประธานฯ มูลนิธิกระจกเงาซึ่งเป็นนักเคลื่อนไหวทางสังคมและการเมืองที่มีชื่อเสียงได้ตัดสินใจสนับสนุนพวกเขาด้วยการบริจาคกลองให้กับกลุ่ม จากนั้นเป็นต้นมาพวกเขาได้ตั้งชื่อตัวเองว่า ราษฎร์ดรัมส์ อย่างเป็นทางการ
สำหรับโครงการ โปรเจกต์ไพร่ 02 X ราษฎร์ดรัมส์ ภัณฑารักษ์มุ่งสำรวจและนำเสนอประวัติศาสตร์ ที่มาและอุดมการณ์ของกลุ่มศิลปินนักเคลื่อนไหวที่ทำการแสดงและยืนเคียงข้างกับผู้ชุมนุมประท้วงทางสังคมและการเมือง พวกเขาอาจมีบทบาทสำคัญและสามารถส่งต่อการสั่นสะเทือนของเสียงและความหลากหลายของจังหวะได้หรือไม่...อย่างไร ท่ามกลางชะตากรรมทางสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และการเมืองไทยในช่วงสองปีที่ผ่านมา? ผลงานถูกนำเสนอในรูปแบบวิดีโอบันทึกผ่านมุมมองของ ผู้คัดเลือกนักแสดง/นักทำภาพยนตร์ และในรูปแบบคอนเซ็ปชวลอาร์ตที่ศิลปินตั้งคำถามต่อกระแสแห่งอุดมการณ์ทางความคิดระหว่างพื้นที่ส่วนตัวและพื้นที่ส่วนรวม ภายใต้ขอบเขตของการเคลื่อนไหวทางการเมืองในประเทศไทย ผ่านการเล่าเรื่องกึ่งสมมุติในระดับปัจเจก นอกจากนั้น นักวิชาการ/นักวิจารณ์ศิลปะ/นักเคลื่อนไหวด้านวัฒนธรรม ยังถูกเชื้อเชิญมาร่วมแบ่งปันแนวคิดเชิงวิพากษ์ว่าด้วยการแสดงดนตรีในฐานะสุนทรียศาสตร์แห่งการต่อต้าน
…เมื่อเสียงและจังหวะดนตรีกลายเป็นส่วนหนึ่งของการเคลื่อนไหวทางสังคมและการเมือง พวกมันจะสร้างเสียงรบกวนขณะที่สร้างสรรค์เสียงสะท้อนอันฮึกเหิมในเวลาเดียวกัน มีเพียงเวลาเท่านั้นที่จะเผยให้เห็นว่าจังหวะแห่งเสียงสะท้อนจักสามารถแทรกซึมเข้าไปในหัวใจของผู้ท้าทายได้หรือไม่ อย่างไร และเมื่อใด…
เพ็ญวดี นพเกตุ มานนท์
มีนาคม 2565
บทความจากนักวิชาการ
โปรเจกค์ไพร่ 02 – ราษฎร์ดรัม
PROJECT PRY 02 – RATSADRUMS
กลองศึกขับขาน : ดั่งเสียงปลุกจิตวิญญาณนักสู้ ผู้ไม่จำนน
“ หากเธอได้ยินเสียงเพลงบรรเลง เธอจงกลับไปเรียกไพร่พล
มันคือท่วงทำนองของสามัญชน คนธรรมดาอย่างเรา
หากเธอได้ยินเสียงกลองกระหน่ำ มันคือเสียงเท้าของมวลชน
กระหึ่มด้วยแรงประสานของเสรีชน คนใต้ฟ้าเดียวกัน
ดวงดาวยังประกายทอแสง จรัสแรงยามมืดมนบนฟ้าไกล
ผูกใจเรารวมประสาน ศรัทธามั่น สู้ถึงวันเราได้ชัย
ปรบมือดังเสียงกลอง และป่าวร้องว่าไม่ยอมให้ผู้ใด
มาทำร้ายลิดรอนสิทธิ์เสรี ที่เรามีตราบที่เรายังหายใจ
จับมือเดินก้าวไป เราคือเพื่อนกัน ” *
บทเพลงข้างต้นคือ “ เราคือเพื่อนกัน ” ของวงสามัญชน ประโยคคำสั้น ๆ แต่ทรงพลังและเร้าใจในยามอยู่ท่ามกลางการชุมนุมต่อต้านอำนาจอยุติธรรม เพลงบทนี้ดังกระหึ่มครั้งแรกฤดูฝน เดือนมิถุนายน 2558 ในช่วงที่จะมีการพิจารณาคดีในศาลทหารกรณีการชุมนุมครบรอบ 1 ปี รัฐประหาร ( 22 พฤษภาคม 2557 ) ตั้งแต่นั้นมาบทเพลงนี้ได้ถูกเปล่งเสียงประสานไปทั่วสารทิศ กรุยทางเดินให้คนที่หาญกล้าเดินออกมารวมตัวกัน กู่ร้องเสียงร่ำจากหัวใจ ประสานมือเดินก้าวไป เราทั้งผองคือเพื่อนกัน ราวกับเป็นมหากาพย์บทกวีแห่งยุคสมัยในยามชุมนุมเรียกร้องสิทธิ เสรีภาพ ประชาธิปไตยจากการถูกโจรกรรมปล้นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนไปเหยียบย่ำครั้งแล้วครั้งเล่าของเหล่าปีศาจเผด็จการนายทุน ขุนศึก ศักดินา
“ หากเธอได้ยินเสียงกลองกระหน่ำ มันคือเสียงเท้าของมวลชน ” ท่อนวลีไม่กี่คำของประโยคที่สร้างอุปลักษณ์และสัญลักษณ์ (metaphor & symbol ) ทางภาษาที่เห็นรูปธรรมแห่งความเป็นกลองเสมือนเสียงโหมกระหน่ำการปลุกเร้าให้ผู้คนชนสามัญลุกตื่นขึ้นมาทวงสิทธิ เสรีภาพ ประชาธิปไตย อันเป็นมรดกแห่งเรือนร่างที่ไม่มีอำนาจเผด็จการใด ๆ พรากออกจากสรรพางค์กาย ลุกขึ้นมาต่อสู้และทวงคืนสมบัติแห่งเรือนร่างที่ล้ำค่ากว่าเทหวัตถุใด ๆ ซึ่งเผาไหม้ตายซากอย่างไร้ราคา
มนุษย์ปุถุชนคนสามัญทุกผู้ทุกนามถ้าปราศจากซึ่งสิทธิเสรีภาพ ประชาธิปไตย ศักดิ์ศรีและความเท่าเทียมแล้ว ก็ดูจะไม่ต่างจากซากศพอสุภะของวัตถุที่ไร้ชีวิตจิตวิญญาณ เพียงแต่มีรูปลักษณ์และเน่าเปื่อยตายซากไปอย่างไร้อรรถประโยชน์โภชน์ผลต่อโลกที่เต็มไปด้วยอำนาจแห่งการบั่นทอน
เสียงกลอง(ศึก)ที่ลั่นระทึกครึกโครมโหมกระหน่ำตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันสมัย เติมเชื้อไฟด้วยพลังของเสียงกลองกระแทกระทึกครึกโครมราวกับพายุโหมซัดพัดพังนาคร ด้วยมืออันกร้านกรำ ตอกกระหน่ำหนังหน้ากลอง สองแขนยกแยกขยับเป็นจังหวะริ้วระรัว สองเท้าสาวสืบประจันหน้าฝ่าภัยพาลด้วย(เสียง)กลองชัย ..... ปรบมือดังเสียงกลองและป่าวร้องว่าไม่ยอมให้ผู้ใด ....
เสียงกลองของนักปฏิบัติการราษฎร์ดรัมดังก้องกังวานทั่วมหานครกรุงเทพจากถนนราชดำเนิน ท้องสนามหลวง แยกราชประสงค์ หน้ารัฐสภาเกียกกายสู่ทำเนียบรัฐบาลประสานกับเสียงของผู้คนชนสามัญที่มาร่วมต่อสู้ขับไล่นายทุน ขุนศึก ศักดินา และเผด็จการทหารครองเมืองตั้งแต่หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ไม่นาน แม้ก่อนหน้านั้นจะยังไม่เรียกขานว่าราษฎร์ดรัม แต่ก็มีการรวมกลุ่มกันของนักปฏิบัติการตีถังกะละมังเมื่อคราวการชุมนุมใหญ่แบบไม่มีแกนนำที่ห้าแยกลาดพร้าววันที่ 17 ตุลาคม 2563 อันเป็นสืบเนื่องมาจากการชุมนุมอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่วันที่ 14 ตุลาคม 2563 จนกระทั่งถูกสลายการชุมนุมและปราบปรามจับกุมรอบทำเนียบรัฐบาลเมื่อคืนวันที่ 15 ตุลาคม 2563
ราษฎร์ดรัมเสียงของนักปฏิบัติการทางศิลปะด้วยหนังหน้ากลองเข้าร่วมฉลองชัยขับไล่เผด็จการกับผู้คนชนสามัญที่ใฝ่ฝันประชาธิปไตยตั้งแต่แสงอาทิตย์ตั้งฉากกับพื้นโลกยันยามอาทิตย์อัสดง ในวันแห่งเทศกาลงาน Mob Fest เดือนพฤศจิกายน 2563 หลังจากนั้นเสียงราษฎร์ดรัมพร้อมกับการขับขานเสงกลองได้คล้องแขนเคียงคู่ไปกับขบวนปฏิบัติการทางศิลปะอื่น ๆ ในขบวนการต่อสู้เรียกร้องสิทธิ เสรีภาพ ประชาธิปไตย ทวงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมคืนมา อยู่คู่เรือนร่างจิตวิญญาณอย่างไม่หวาดหวั่น
เสียงกลองก้องกระหึ่มกระจายไปทั่วดินแดนที่ถูกกดทับและปลุกผู้คนที่หลับใหลให้ตื่นจากฝันพลันตาสว่างเห็นความจริงที่คลุมทับไว้ด้วยสูทเสื้อพระราชาอันเลื่อมหรู ปลอกลอกคราบไคลของเผด็จการให้เห็นตับไตไส้พุงอันเน่าเหม็นฟอนเฟะ
นิยามความเป็นกลองของราษฎร์ดรัมและการใช้รูปแบบการนำเสนอศิลปะแขนงอื่น ๆ ไม่ว่า การสาดสี ,วลีความ , ข้อความ , ภาพล้อเลียน , เสียดสี ,การ์ตูน ,กราฟิตี้ ,ศิลปะการแสดงสด , ดนตรีข้างถนน , หมอลำ เป็นต้น ปฏิบัติการทางศิลปะเหล่านี้นับเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการแสดงออกเพื่อการต่อต้านอำนาจรัฐแบบรวมศูนย์ และเป็นการทะลายกำแพงแห่งสถาบันทางการศึกษา ศิลปะ วัฒนธรรม ที่รัฐกุมอำนาจ การบัญชาเพื่อกระแทกกระทั้นโครงสร้างศิลปวัฒนธรรมของรัฐให้ผุกร่อนเสื่อมมนต์ขลังด้วยวิถีของปฏิบัติการเคลื่อนไหวทางศิลปะและสุนทรียสามัญชน ( Artistic Activist Movement and Plebeian Aesthetic)
ปฏิบัติการเคลื่อนไหวทางศิลปะและสุนทรียสามัญชนเป็นกระบวนการวิพากษ์วิจารณ์ผ่านปฏิบัติการทางศิลปะของสามัญชนคนธรรมดา เป็นปฏิบัติการและการผลิตซ้ำสิ่งที่ตรงข้ามกับศิลปวัฒนธรรมของรัฐรวมศูนย์ โดยใช้พลวัตในทุกมิติของปุถุชนคนสามัญเป็นพื้นฐานหลักของการเคลื่อนไหวโดยไม่จำกัดรูปแบบแนวคิดในการปฏิบัติการ เราต่างเชื่อมั่นในพลังร่วมการนำเสนอ และการแสดงออกที่หลากหลาย เพื่อสร้างพลวัตของสุนทรียศาสตร์แห่งการต่อต้าน ( Aesthetics of Resistance ) ให้กว้างไกลไพศาลที่สุดดั่งเสียงกลองของราษฎร
การเคลื่อนไหวทางศิลปะสามัญชนหรือการเคลื่อนไหวทางศิลปะผ่านโปรเจคต์ไพร่ ฟังดูแล้วอาจจะขัดเขิน กระดากปากแตกต่างจากศิลปะจากการรับรู้และมุมมองของอภิสิทธิ์ศิลปะในสังคม แต่เชื่ออย่างยิ่งว่ากระบวนการเคลื่อนไหวและเปลี่ยนแปลงทางศิลปะ วัฒนธรรม คลื่นสำคัญ ๆ ในโลกศิลปะศตวรรษที่ 21 นั้นล้วนแต่เกิดจากแรงกระเพื่อม พลังสึนามิทางศิลปวัฒนธรรมจากรากฐานของความคิดและปฏิบัติการเชิงคอลเลคทีฟ (Collective) ของไพร่หรือสามัญชนคนธรรมดาทั้งสิ้น เพราะนี่คือพลังการวิพากษ์วิจารณ์โดยใช้การเคลื่อนไหวและปฏิบัติการทางศิลปะเป็นพลวัตในการขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรมที่สุด
กลองชัยแห่งสามัญชนคนไพร่และปฏิบัติการทางศิลปะจงเจริญ
อ้างอิง:
บทเพลง เราคือเพื่อนกัน จากวงสามัญชนThe Aesthetics of Resistance , Peter Weiss (2005) Durham & London , Duke University Press .ถนอม ชาภักดี ; The Isaan Record ; 5 ตุลาคม 2564
ถนอม ชาภักดี
กุมภาพันธ์ 2565
*โปรเจกต์ “ไพร่” ขอขอบคุณ วอยซ์ ทีวี
โปรเจกต์ “ไพร่” ได้รับทุนจากกองทุน International Relief Fund จากกระทรวงการต่างประเทศของเยอรมนี สถาบันเกอเธ่ และพันธมิตรอื่นๆ โปรดเยี่ยมชม www.goethe.de/relieffund