For the 10th anniversary of WTF Gallery, we have invited 6 artists to re-visit their ideas presented in ‘Conflicted Visions’ exhibition at WTF gallery back in 2014. The six artists have been asked to exhibit new artworks that best reflected their views of the current social and political climate in Thailand in 2020 in ‘Conflicted Visions AGAIN’.
When the exhibition Conflicted Visions appeared in 2014, there was despite intractable differences on the political scene a certain accepted reality for each side of the conflict. The exhibition raised the question whether we can ever have disagreements over fundamental beliefs and ideologies without becoming overwrought. Conflicted Visions was about reaching beyond prejudice.
Not long after the exhibition in 2014, however, the military staged the coup led by General Prayuth Chan-o-cha, with the ostensible aim of bringing the country back to order and peace. Since then Thailand has witnessed drastic changes across its social fabric. Questions have been raised whether the junta has created more conflict than it has solved; or whether it has created confusion both within and among groups who may have felt they had a stake in bringing this change about. The chief purpose was to reduce the country once again to a single vision, but by doing that, the junta has limited human rights and freedom of speech, and this approach has spilt over even into areas that have nothing to do with the political conflict at hand, such as simple natural justice or compassion.
In March 2019, the fiendishly complex electoral system designed to thwart the country’s powerful opposition parties still resulted in a general election result that was questionable. The government was formed, once again, under the leadership of General Prayuth Chan-o-cha. We witnessed several political scandals, the tanking of country’s economy, government mishandling of natural disasters and resources being squandered on promoting national and institutional stability. While Thailand did return to some form of peace and order despite increasingly polarised political views, the government placed its priority on heavy-handed attacks on those who dared to criticize its performance, while allowing the military to gain more influence in all areas of governance.
'Conflicted Visions AGAIN' consists of works made between 2014-2020 by six Thai artists whose work actively criticizes and questions social and political issues in Thailand from different or perhaps opposing ideologies.
Prakit Kobkijwattana re-visits the media he used in the first Conflicted Vision exhibition by mocking the country and its mentality using paint on woodcut. Thailand New Normal concept derives from the Thai government's COVID-19 measures PR jargon and his observation of what the new normal for post COVID-19 actually means under the current military-democratic regime.
Both Pisitakun Kuantalaeng and Miti Ruangkrityai's works are documentations of Thai political events. Miti's work is part of an ongoing series called Thai Politics (since 2006), exploring the different political views and behaviours of Thai people by using a new expressive language - 'emoticon' stickers.
Pisitakun's installation is selected works from from ICONOCLASTOR – a brand created by the artist using drawing, stickers, comics and fashion as accessible tools for documenting and telling stories of the major Thai political events in the past 10 years, from the 2010 riots to the dissolutions of the Future Forward Party as well as the government's current imposition of emergency decree as a measure to control COVID-19.
Renowned photographer and filmmaker Manit Sriwanichpoom presents new installation Program Will Resume Shortly which allows the audience to speculate about the 'untouchable' content and question the rationale behind the censorship of some international news broadcasts despite the country's return to 'democratic' society after the election in 2019.
Sutee Kunavichayanont's latest work FREEHATESPEECH uses his signature medium neon tubes to highlight the debatable land between free speech and hate speech. While many could argue that freedom of speech does not exist in Thailand, the internet allows people to hurl abuse and insults at others — and even send death threats. This new reality shines a light on human weakness and creates a climate of fear and polarization.
Jakapan Vilasineekul's installation In The Tension is the metaphoric articulation of the increasing tension and the unbearable anxiety across the Thai social fabric due to conflicting ideologies and the imbalance of power structures.
The exhibition is an attempt to examine the evolving political attitudes of a polarized society and the artistic community with a new or revised perspective on our realities six years on.
ในวาระครบรอบ 10 ปีของ WTF แกลลอรี่ เราเชิญศิลปิน 6 คนวกกลับมาเยี่ยมเยือนแนวคิดเก่าที่เคยนำเสนอในนิทรรศการ Conflicted Visions ที่จัดขึ้นใน WTF แกลลอรี่เมื่อปี 2014 เพื่อแสดงผลงานศิลปะชิ้นใหม่ที่สะท้อนความคิดของศิลปินมีต่อบรรยากาศทางสังคมและการเมืองในประเทศไทยในปัจจุบันหลังการเปลี่ยนแปลงและเหตุการณ์มากมายที่เกิดขึ้นใน 6 ปีที่มา ในงานนิทรรศการชุดใหม่ Conflicted Visions AGAIN
ย้อนกลับไปที่นิทรรศการ Conflicted Visions จัดโดย WTF แกลลอรี่ในปี 2557 บรรยากาศการเมืองเกิดความขัดแย้งที่ยากจะยอมความ คู่ขัดแย้งแต่ละฝ่ายต่างมีข้อเท็จจริงที่ตนเองเชื่อถือ นิทรรศการในช่วงเวลานั้นตั้งคำถามว่าเราสามารถเห็นแย้งในเรื่องความเชื่อพื้นฐานและอุดมการณ์โดยไม่ห้ำหั่นกันทางอารมณ์ได้หรือไม่ เป้าหมายของงาน Conflicted Visions คือการพาผู้ชมให้ก้าวพ้นความอคติ
อย่างไรก็ตาม ไม่นานหลังจากจัดนิทรรศการ เกิดการรัฐประหารโดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา อ้างว่าทำเพื่อนำความสงบสุขและระเบียบกลับคืนสู่สังคมอีกครั้ง ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาประเทศไทยเกิดความเปลี่ยนทางสังคมครั้งใหญ่ แต่กระนั้นก็เกิดคำถามว่ารัฐบาลทหารสร้างความขัดแย้งมากกว่าคลี่คลายความขัดแย้งหรือไม่? หรือว่าสร้างความสับสนภายในกลุ่มที่รู้สึกว่าตัวเองมีส่วนนำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว? เป้าประสงค์หลักของการรัฐประหารคือการนำประเทศสู่การมีวิสัยทัศน์เดียวกันทั้งระนาบอีกหนึ่งครั้ง เพื่อบรรลุวัตถประสงค์ดังกล่าวรัฐบาลทหารได้จำกัดสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพในการสื่อสารซึ่งแทรกซึมไปยังอาณาบริเวณที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งทางการเมืองโดยตรง เช่น ความยุติธรรมหรือความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น
ในเดือนมีนาคม 2562 ระบบการเลือกตั้งซับซ้อนซ่อนเงื่อนที่ออกแบบมาเพื่อป้องกันไม่ให้พรรคการเมืองฝั่งตรงข้ามมีอำนาจมากเกินไปให้ผลลัพท์ที่ยังมีข้อกังหา ซึ่งสุดท้ายเกิดการตั้งรัฐบาลซึ่งนำโดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาอีกครั้ง โดยหลังจากการเลือกตั้งครั้งนี้ได้มีเรื่องราวข่าวฉาวทางการเมืองเกิดขึ้นหลายครั้งโดยไม่มีคำอธิบายที่โปร่งใส ประชาชนกลายเป็นเหยื่อผู้รับเคราะห์จากการบริหารประเทศอย่างไร้ทิศทาง เศรษฐกิจของประเทศซบเซาลงอย่างต่อเนื่อง การจัดการรับมือภัยธรรมชาติในอย่างไร้ประสบการณ์ และการทำลายทรัพยากรหรือนำงบประมาณจำนวนมากไปใช้เพื่อปกป้องความมั่นคงของชาติและสถาบันรัฐฯ แม้ว่าประเทศไทยจะมีความสงบกลับคืนมา แต่รอยร้าวของความเห็นขัดแย้งทางการเมืองที่ถ่างออกขึ้นเรื่อยๆ รัฐบาลให้ความสำคัญกับการลงโทษผู้ใดก็ตามที่วิจารณ์การทำงานของรัฐบาล และให้ทหารมีอิทธิพลมากขึ้นในการปกครอง
Conflicted Visions AGAIN รวบรวมผลงานตั้งแต่ปี 2557 – 2563 ของศิลปินไทยหกคนที่ทำงานวิพากษ์และวิจารณ์ประเด็นทางสังคมและการเมืองอย่างในประเทศไทยตลอดมาด้วยอุดมการณ์ที่แตกต่างหรืออาจจะอยู่ตรงข้ามกัน
ประกิต กอบกิจวัฒนา ใช้สื่อเดิมที่เขาเคยใช้ในนิทรรศการ Conflicted Visions ในปี 2557 เพื่อล้อเลียนประเทศและวิธีคิดโดยใข้สีอะคริลิคบนไม้ แนวคิดของงาน Thailand's New Normal ได้มาจากคำประชาสัมพันธ์มาตรการรับมือการแพร่ระบาดของ COVID-19 ของรัฐบาลและการสังเกตการณ์ของตัวเขาเองว่าความปกติใหม่หลัง COVID-19 จะมีนิยามว่าอย่างไรภายใต้ระบอบการปกครองประชาธิปไตยแบบทหารในปัจจุบัน
งานของทั้งพิสิฏฐ์กุล ควรแถลงและมิติ เรืองกฤตยา เป็นการจดบันทึกเหตุการณ์ทางการเมืองของไทย งานของมิติเป็นซีรี่ย์ต่อเนื่องชื่อ การเมืองไทย (ตั้งแต่ปี 2549) ที่สำรวจมุมมองและพฤติกรรมทางการเมืองที่แตกต่างของคนไทยผ่านภาษาสื่อสารแบบใหม่อย่างสติกเกอร์อิโมทิคอน งานศิลปะจัดวางของพิสิฏฐ์กุลเป็นงานที่เลือกมาจาก ICONOCLASTOR แบรนด์ที่เขาสร้างในการใช้วาด ทำสติกเกอร์ ทำภาพการ์ตูน และเป็นแฟชั่นเพื่อเป็นเครื่องมือที่สามารถบันทึกและบอกเล่าเรื่องราวของเหตุการณ์การเมืองไทยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่การลุกฮือในปี 2553 จนกระทั่งถึงการยุบพรรคอนาคตใหม่และการออกพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อควบคุมสถานการณ์ COVID-19
ช่างภาพและผู้ผลิตภาพยนตร์ชื่อดัง มานิต ศรีวานิชภูมิ นำเสนอผลงานศิลปะวีดีโอจัดวางใหม่ชื่อ Program Will Resume Shortly ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้ชมได้ใคร่ครวญถึงเนื้อหาที่ “แตะต้องไม่ได้” และตั้งคำถามกับหลักเหตุผลของรัฐบาลในการเซ็นเซอร์ข่าวต่างประเทศถึงแม้ว่าประเทศจะกลับคืนสู่ระบอบ “ประชาธิปไตย” แล้วหลังการเลือกตั้งปี 2562
ผลงานล่าสุดของสุธี คุณาวิชยานนท์ FREEHATESPEECH ใช้ไฟนีออนซึ่งเป็นสื่อเอกลักษณ์ของเขาในการตอกย้ำเรื่องความพร่าเลือนระหว่าง เสรีภาพในการพูด (free speech) และ ข้อความแสดงความเกลียดชัง (hate speech) แม้หลายคนอาจจะถกเถียงว่าประเทศไทยไม่ได้มีเสรีภาพในการพูด แต่อินเตอร์เน็ตก็เปิดโอกาสให้คนประทุษร้ายและแดกดันผู้อื่นทางวาจา แม้กระทั่งส่งคำขู่ฆ่า ภาวะการณ์เช่นนี้เผยให้เห็นความเป็นมนุษย์ที่เสื่อมถอย สร้างบรรยากาศความกลัวและการแตกเป็นสองขั้ว
ผลงานศิลปะจัดวางของจักรพันธ์ วิลาสินีกุล In The Tension เป็นอุปมาเปรียบเปรยความตึงเครียดสะสมและความวิตกกังวลเกินต้านทานที่ปรากฎเด่นชัดในสังคมไทยจากความขัดแย้งทางอุดมการณ์และโครงสร้างอำนาจที่ไม่สมดุลย์
นิทรรศการนี้พยายามสำรวจพลวัตรของทัศนคติการเมืองในสังคมไทยที่แบ่งออกเป็นสองฝ่ายและชุมชนศิลปินผ่านมุมมองใหม่หรือมุมมองที่ปรับจากเดิมเกี่ยวกับความจริงของชีวิตหกปีที่ผ่านมา
When the exhibition Conflicted Visions appeared in 2014, there was, despite intractable differences on the political scene, a certain accepted reality for each side of the conflict. The exhibition raised the question whether we can ever have disagreements over fundamental beliefs and ideologies without becoming overwrought. Conflicted Visions was about reaching beyond prejudice.
Not long after the exhibition, however, the military staged the coup led by General Prayuth Chan-o-cha, with the ostensible aim of bringing the country back to order. Since then Thailand has witnessed drastic changes across its social fabric. Questions have been raised whether the junta has created more conflict than it has solved; or whether it has created confusion both within and among groups who may have felt they had a stake in bringing this change about. The chief purpose was to reduce the country once again to a single vision, but by doing that, the junta has limited human rights and freedom of speech, and this approach has spilt over even into areas that have nothing to do with the political conflict at hand, such as simple natural justice or compassion.
In March 2019, the fiendishly complex electoral system designed to thwart the country’s powerful opposition parties still resulted in a general election result that was at best questionable. The government was formed, once again, under the leadership of General Prayuth Chan-o-cha. We witnessed several political scandals, the tanking of the country's economy, government mishandling of natural disasters and resources being squandered on promoting national and institutional stability. While Thailand did return to some form of peace and order despite increasingly polarised political views, the government placed its priority on heavy-handed attacks on those who dared to criticise its performance, while allowing the military to gain more influence in all areas of governance.
For the 10th anniversary of WTF Gallery, we invite six artists to re-visit the ideas
presented in Conflicted Visions by exhibiting new artwork that best reflects their opinion of the current social and political climate in Thailand in the new exhibition Conflicted Visions AGAIN back at WTF Gallery.
What does it even mean to be political when our very view of disagreements and perceptions could well be manipulated by forces beyond our control and perhaps even by automated opinion bots?
The deep political division in Thai society has largely inhibited its ability to participate in productive and civil debate. Works of art grant a rare freedom to explore politics from a perspective not typically offered in everyday conversation. We believe art can comment on and be a part of the political process.
We hope you will feel inspired to reflect on “the often self-contradictory definitions of morality, social norms, patriotism and established power that have been propagated by those who would harness these concerns, desires and grievances to their own political ends” – as the original exhibition text put it – with a new or revised perspective on our realities six years on.
Somrak Sila
Curator
June 2020
Artist Statements
Jakapan Vilasineekul
In the Tension, 2014 is a sequel to Sitting in the Air / Balancing on the Rope, 2010 that originally exhibited in Conflicted Vision 2014. I created tension using principles of physics to calculate center of gravity and center of pressure and used art to make us feel invisible force by combining non-correlated objects. Under the condition of pulling force and tension in balancing the objects, meaning and context of objects are created to reflect a challenge and resistance.
It came to light for me the accumulating anxiety of Thai society over a decade. We have been circulating around hard-to-admit conflicts between the attempt to maintain power from one side and the attempt to overthrow that power from another. I tried to explain a visual I have for Thai society through this work of art which shows a state that is difficult to maintain the balance and increasing tension.
Manit Sriwanichpoom
7 March 2020 – While watching Aljazeera news channel, suddenly the TV screen was replaced by a white panel with black text “Program will resume shortly.” This means Thai folks and foreigners in Thailand were not permitted to know the content of that news story. But it’s not hard for them to guess that surely the news must be related to the Thai Monarchy. Since the transitioning of the throne from King Rama IX to Rama X, this censorship has been happening more often in print media, TV and social media. Even after Thailand’s return to democracy with election 2019 after the 2014 coup d’etat, Thai citizens still have no rights to know how the foreign media view their beloved highest institution.
Miti Ruangkritya
Thai Politics no.8 is an 'emoticon sticker book' containing screenshots of General Prayuth Chan-o-cha's television broadcasts. The book is child friendly and allows each family member to express their emotions towards General Prayuth Chan-o-cha through the use of the 'emoticons'.
'Thai Politics' is an ongoing series developed from the first major protest in Bangkok since 2006. Whilst exploring the differing political attitudes in Bangkok, the project also examines photography within an image rich world. Punctuating each addition to the series is not only a different dimension to people's political views and behaviours, but also a different approach to how they are captured and presented. This includes curating images found across the web and social media (Thai Politics no.2, 4, 7, 8 and 9) to the more traditional approach of digital and film photography (Thai politics no.1, 3, 5 and 6).
Prakit Kobkijwattana
Over 10 years that clandestine coup d’état / has prolonged their power / violated rights /exploited their power / prevented freedom / enforced curfew/overlooked human rights / hunted down political refugees / distorted justice system / devised a crackdown / silenced opponents /threatened/intervened with the media / prevented criticisms / jailed / abducted / forced disappearance
These events regularly happened in Thai society that they become the norms or is this a New Normal that we must live with for a long time.
The art works are produced to exhibit at WTF Gallery, Bangkok 2020
Pisitakun Kuantalaeng
ICONOCLASTOR is a space to present different aspects of its creator and society towards a subject which they held important. The space of ICONOCLASTOR allows unconstraint projects so the ICONOCLASTOR itself carries no exact concept or style. We hope to generate income from this project to fund other projects in the future. ICONOCLASTOR STICKER is our project to use stickers as a tool to record events or concepts happening daily in historical and cultural senses, as well as other aspects, without constraint.
SuteeKunavichayanont
In the modern time, hate speech has been covered by Freedom of Speech
ย้อนกลับไปที่นิทรรศการ Conflicted Visions จัดโดย WTF แกลลอรี่ในปี 2557 บรรยากาศการเมืองเกิดความขัดแย้งที่ยากจะยอมความ คู่ขัดแย้งแต่ละฝ่ายต่างมีข้อเท็จจริงที่ตนเองเชื่อถือ นิทรรศการในช่วงเวลานั้นตั้งคำถามว่าเราสามารถเห็นแย้งในเรื่องความเชื่อพื้นฐานและอุดมการณ์โดยไม่ห้ำหั่นกันทางอารมณ์ได้หรือไม่ เป้าหมายของงาน Conflicted Visions คือการพาผู้ชมให้ก้าวพ้นความอคติ
อย่างไรก็ตาม ไม่นานหลังจากจัดนิทรรศการ เกิดการรัฐประหารโดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา อ้างว่าทำเพื่อนำความสงบสุขและระเบียบกลับคืนสู่สังคมอีกครั้ง ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมองเห็นได้ว่าประเทศไทยเกิดความเปลี่ยนทางสังคมครั้งใหญ่ แต่กระนั้นก็เกิดคำถามว่ารัฐบาลทหารสร้างความขัดแย้งมากกว่าคลี่คลายความขัดแย้งหรือไม่? หรือว่าสร้างความสับสนภายในกลุ่มที่รู้สึกว่าตัวเองมีส่วนนำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว? เป้าประสงค์หลักของการรัฐประหารคือการนำประเทศสู่การมีวิสัยทัศน์เดียวกันทั้งระนาบอีกหนึ่งครั้ง เพื่อบรรลุวัตถประสงค์ดังกล่าวรัฐบาลทหารได้จำกัดสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพในการสื่อสารซึ่งแทรกซึมไปยังอาณาบริเวณที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งทางการเมืองโดยตรง เช่น ความยุติธรรมหรือความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น
ในเดือนมีนาคม 2562 ระบบการเลือกตั้งซับซ้อนซ่อนเงื่อนที่ออกแบบมาเพื่อป้องกันไม่ให้พรรคการเมืองฝั่งตรงข้ามมีอำนาจมากเกินไปให้ผลลัพท์ที่ยังมีข้อกังหา ซึ่งสุดท้ายเกิดการตั้งรัฐบาลซึ่งนำโดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาอีกครั้ง โดยหลังจากการเลือกตั้งครั้งนี้ได้มีเรื่องราวข่าวฉาวทางการเมืองเกิดขึ้นหลายครั้งโดยไม่มีคำอธิบาย ประชาชนกลายเป็นเหยื่อผู้รับเคราะห์จากการบริหารโดยทหาร เศรษฐกิจของประเทศซบเซาลงอย่างต่อเนื่อง การจัดการรับมือภัยธรรมชาติในอย่างไร้ประสบการณ์ และการทำลายทรัพยากรหรือนำงบประมาณจำนวนมากไปใช้เพื่อปกป้องความมั่นคงของชาติและสถาบันรัฐฯ แม้ว่าประเทศไทยจะมีความสงบกลับคืนมา แต่รอยร้าวของความเห็นขัดแย้งทางการเมืองที่ถ่างออกขึ้นเรื่อยๆ รัฐบาลให้ความสำคัญกับการลงโทษผู้ใดก็ตามที่วิจารณ์การทำงานของรัฐบาล และให้ทหารมีอิทธิพลมากขึ้นในการปกครอง
ในวาระครบรอบ 10 ปีของ WTF แกลลอรี่ได้เชิญศิลปิน 6 ท่าน กลับมาทบทวนแนวคิดงานศิลปะทั้งหมดที่เคยปรากฎในนิทรรศการ Conflicted Visions อีกครั้ง เพื่อสะท้อนความคิดและเจตคติของศิลปินที่มีต่อสภาวะสังคมและการเมืองของไทยในปัจจุบัน หลังจากการเปลี่ยนแปลงมากมายตลอด 6 ปีที่ผ่านมา ศิลปินได้ผลิตและผลงานชุดใหม่เพื่อแสดงในนิทรรศการ Conflicted Visions AGAIN
นิทรรศการครั้งนี้เป็นความพยายามให้ผู้ชมทำความเข้าใจความหมายของการมีความเห็นต่างทางการเมือง เมื่อความเห็นขัดแย้งและมุมมองของเราอาจถูกปั่นด้วยอำนาจที่อยู่เหนือการควบคุม หรืออาจจะด้วย AI ที่ประมวลความคิดแทนเรา
ความเห็นทางการเมืองที่ขัดแย้งซึ่งฝังรากลึกในสังคมไทยเป็นอุปสรรค์ใหญ่ต่อการพูดคุยถกเถียงกันอย่างสร้างสรรค์ งานศิลปะให้พื้นที่เสรีภาพที่ไม่ได้มีบ่อยครั้ง เพื่อสำรวจการเมืองจากมุมมองที่ไม่ได้อยู่ในบทสนทนาของชีวิตประจำวัน เราเชื่อว่าศิลปะสามารถให้มุมมองและเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทางการเมืองได้
เราหวังว่าคุณจะได้แรงบันดาลใจที่จะทบทวนความหมายของ “นิยามที่มักขัดแย้งกันเองของศีลธรรม บรรทัดฐานของสังคม ความชาตินิยม และอำนาจสถาปนาที่แพร่หลายจากผู้ที่พยายามจะควบคุมการขบคิด ความปรารถนา และความคับข้องใจให้คล้อยตามเป้าหมายทางการเมืองของตนเอง” ที่เคยแสดงไว้ในงานนิทรรศการแรก ด้วยมุมมองผ่านเรื่องราวความเป็นจริงใหม่ที่แปรผันตลอดหกปีที่ผ่านมา
สมรัก ศิลา
ภัณฑรักษ์
มิถุนายน 2563
===
แถลงการณ์ของศิลปิน
จักรพันธ์ วิลาสินีกุล
In the Tension, 2014 เป็นผลงานต่อเนื่องจากผลงานชื่อ แขวนไว้ในอากาศ / สมดุลบนเส้นเชือก (Sitting in the Air / Balancing on the Rope), 2010 ที่ เคยนำมาจัดแสดงในนิทรรศการ Conflicted Vision ครั้งแรกปี 2014 ผมสร้างผลงานชุด Tension ขึ้นโดยอ้างอิงหลักการของฟิสิกส์ในการคำนวนหาจุดศูนย์ถ่วงและจุดถ่ายน้ำหนัก ผมใช้วิธีการทางศิลปะเพื่อทำให้เราสัมผัสถึงแรงที่มองไม่เห็นโดยนำวัตถุที่ไม่มีความสัมพันธ์กันมาประกอบสร้างขึ้นใหม่ ภายใต้เงื่อนไขของแรงดึงและความตึงเครียดในการรักษาสมดุลย์ของวัตถุ ความหมายและบริบทของวัตถุที่ถูกสร้างขึ้นใหม่นี้แสดงถึงการท้าทายและการต่อต้าน ผมตระหนักได้ถึงความกังวลที่สะสมมากขึ้นในสังคมไทยตลอดระยะเวลากว่าสิบปีมานี้ เราวนเวียนกับความรู้สึกขัดแย้งในใจที่ยากจะยอมรับเมื่อเห็นความพยายามรักษาฐานอำนาจในข้างหนึ่ง กับการท้าทายและความพยายามโค่นล้มอำนาจในอีกข้างหนึ่ง ผมอธิบายภาพของสังคมไทยที่ผมเห็นเป็นผลงานชุดนี้ ซึ่งแสดงถึงภาวะของรักษาสมดุลย์อย่างยากลำบากและความตึงเครียดที่สะสมขึ้น
มานิต ศรีวานิชภูมิ
7 มีนาคม 2563 – ขณะชมข่าวอัลจาซีราซึ่งกำลังจะรายงานข่าวเกี่ยวกับประเทศไทย ทันใดนั้นภาพหน้าจอทีวีตัดฉับเปลี่ยนเป็นพื้นขาวพร้อมข้อความภาษาอังกฤษสีดำว่า “Program will resume shortly” (รายการจะกลับคืนมาในไม่ช้า) เป็นอันว่าคนไทยและคนต่างชาติในประเทศจะไม่ทราบเลยว่าข่าวชิ้นนี้เกี่ยวกับอะไร แต่พวกเขาคงเดาออกว่าต้องเป็นข่าวเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ไทยอย่างแน่นอน นับเนื่องตั้งแต่ปี 2557 ช่วงเปลี่ยนผ่านรัชกาลจาก 9 สู่ 10 เป็นต้นมา การเซ็นเซอร์เช่นนี้เกิดขึ้นบ่อยครั้งจนกลายเป็นเรื่องปกติ ไม่ว่าจะเกิดกับสื่อสิ่งพิมพ์ ทีวี หรือโซเชียลมีเดีย จนแม้เมื่อประเทศไทยหวนกลับคืนสู่ระบอบประชาธิปไตยหลังรัฐประหาร 2557 แล้วก็ตาม แต่สิทธิและเสรีภาพในการรับรู้ข่าวสารของคนไทยต่อองค์พระประมุขรัชกาลที่ 10 ยังคงถูกจำกัดอย่างไม่เปลี่ยนแปลง ผลของการกระทำดังกล่าวทำให้คนไทยในประเทศมิอาจทราบได้เลยว่า สื่อต่างชาตินั้นคิดเห็นอย่างไรต่อสถาบันสูงสุดที่เขาเคารพรัก
มิติ เรืองกฤตยา
การเมืองไทยหมายเลข 8 คือ “สมุดสติกเกอร์อิโมทิคอน” ที่รวบรวมรูปสกรีนช๊อตของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาที่ออกอากาศทางโทรทัศน์ สมุดเล่มนี้เป็นมิตรต่อเด็ก สมาชิกในครอบครัวสามารถแสดงความรู้สึกที่มีต่อพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาผ่านการใช้ “อิโมทิคอน”
“การเมืองไทย” เป็นซีรีย์ที่มีพัฒนาการมาจากการประท้วงครั้งใหญ่ในกรุงเทพตั้งแต่ปี 2549 ผลงานชิ้นนี้สำรวจความคิดเห็นที่แตกต่างทางการเมืองในกรุงเทพพร้อมๆ กับรูปถ่ายในโลกที่รุ่มรวยด้วยภาพ การนำภาพใส่เพิ่มในซีรี่ย์นี้ไม่เพียงแต่เพิ่มมิติความเห็นและพฤติกรรมทางการเมืองของคน แต่แสดงให้เห็นว่าความเห็นและพฤติกรรมในแต่ละครั้งถูกบันทึกและนำเสนออย่างไร โดยเรียงภาพบนเว็บไซต์และโซเชียลมีเดีย (การเมืองไทยหมายเลข 2, 4, 7, 8 และ 9) ร่วมกับภาพถ่ายดิจิตัลและฟิล์ม (การเมืองไทยหมายเลข 1, 3, 5 และ 6)
ประกิต กอบกิจวัฒนา
10กวาปที่รัฐประหารซอนรูปได / สืบทอดอํานาจเผด็จการ /ละเมิดสิทธิ / ใชอํานาจอยางลนเหลือ/ ปดกั้นเสรีภาพ / ควบคุมเคอรฟว / ละเลยสิทธิมนุษยชน /ไลลาผูล้ีภัยทางการเมือง/ /บิดเบือน กระบวนการยุติธรรม / ปราบปราม ประชาชน / ปดปากคนเห็นตาง / คุกคาม- ขมขู / แทรกแซงสื่อ / หามวิพากษวิจารณ / จับกุมคุมขัง / อุมฆา / บังคับใหสูญหาย
สิ่งเหลาน้ีเกิดขึ้นอยูบอย ๆในสังคมไทย จนแทบกลายเปนความชาชินจนเปนปกติ หรือวาน่ีคือ New Normal ความปกติใหม ท่ีเราตองใชชีวิตกับมันไปอีกนานแสนนาน
พิสฐิฎ์กุล ควรเเถลง
ICONOCLASTOR คือ การสร้างพื้นที่เพื่อนำเสนอแง่มุมต่างๆ ของตัวผู้ทำเองและสังคม เรื่องราวที่เราคิดว่ามันสำคัญโดยพื้นที่ของ ICONOCLATOR เปิดให้เกิดโครงการใหม่ๆ อย่างไม่มีข้อจำกัด ตัวICONOCLASTORจึงไม่มี แนวคิดหรือวิธีการทำงานที่ชัดเจน เรามุ่งหวังที่จะสร้างรายได้ให้กับตัวโครงการเองเพื่อจะนำเงินไปพัฒนาโครงการต่างๆ ที่เราจะทำในภายภาคหน้า
ICONOCLASTOR STICKER : คือโครงการหนึ่งของเรา ที่ใช้สติ๊กเกอเป็นเครื่องมือบันทึก เหตุการณ์ หรือแนวคิดที่เกิดขึ้นแต่ละวัน ทั้งในเชิงประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และอื่นๆ โดยไม่มีข้อจำกัด
สุธี คุณาวชิยานนท์
ในโลกสมัยใหม่ Hate speech มากมายถูกกระทำไปในนามของ Free speech