EXHIBITION
INSTALLATION
MUSIC EVENT
PERFORMANCE
DANCE

Coal: The Dirty Business

โลกไร้ถ่านหิน: ชำระล้างความสกปรกด้วยศิลปะและเสวนา

Exhibition
6/9/2018
-
7/7/2018
BANGKOK
นิทรรศการ
6/9/2018
-
7/7/2018
กรุงเทพฯ

curator

Somrak Sila

ภัณฑารักษ์

สมรัก ศิลา

ARTISTS

Jittima Pholsawek

Sompong Tawee

Chitava Muninto

Satit Raksasri

Vichukorn Tangpaiboon

Wichai Juntavaro

Chumpon Apisuk

ศิลปิน

จิตติมา ผลเสวก

สมพงษ์ ทวี

ชิตะวา มุนินโท

สาธิต รักษาศรี

วิชชุกร ตั้งไพบูลย์

วิชัย จันทวาโร

จุมพล อภิสุข

No items found.

Coal: The Dirty Business

โลกไร้ถ่านหิน: ชำระล้างความสกปรกด้วยศิลปะและเสวนา

Coal: The Dirty Business

No items found.

SPONSORS

สปอนเซอร์

No items found.

DESCRIPTION

The exhibition is co-ordinated by the Community Art Project after a group of seven artists and photographers who came together last year, researching materials and information in Krabi from locals and activists who oppose the construction of the coal-fired power plant projects in Krabi and Thepa by the Electricity Generating Authority of Thailand (EGAT).

Research has shown that the areas where EGAT intends to build the plant and the route of coal transport from Indonesia lie at the heart of the southern Andaman sea’s marine ecosystem. Affected areas cover the provinces of Ranong, Nakorn Srithammarat, Phang Nga, Krabi, Trang, Satun as well as most of the islands in the Andaman sea including Malaysia’s Langawi.

The marine ecosystem consists of the basic constituents of saltwater habitats like tidal flats, mangroves, sea grass, coral, and rock formations that provide food and shelter for one of the world’s highest concentrations of marine diversity for over 360 species of fish and sea life. The exhibition will focus on the lives of local villagers from Urak Lawoi who will feel the most negative impact of the coal-fired power plant on their economy and culture — not to mention the locals’ belief in the sanctity of the land which may be entirely destroyed.

The two coal-fired power plant projects in Thepa and Krabi have met with stiff resistance from locals and NGOs, who say it will threaten the environment and ruin their livelihood, which depends largely on fishing in the case of Thepa and on tourism in the case of Krabi. As a result, the Ministry of Energy has decided to put construction on hold for three years pending additional environmental and health impact assessment. However, despite this small victory, the local communities and NGOs feel this is merely an attempt to stall the inevitable as the j of the project still yields great political power. The artists therefore believe it is vital to continue raising awareness and keep the debate alive.

From the field research by the artists and their experiences in previous art community projects, they have concluded that the most important factor for success in battling the authorities is for locals to protect themselves from being exploited by politicians and capitalism by standing united. The local communities and their leaders must remain impregnable to external stakeholders and arm themselves with knowledge and understanding of the long-term impact.

Artwork in this exhibition includes video, installation, painting, photography, poetry, mixed media and live performance.

WTF Gallery in Partnership with Greenpeace South East Asia and co-ordinated by Community Art Project

นิทรรศการครั้งนี้ประสานงานโดยโครงการศิลปะชุมชุน เกิดขึ้นภายหลังจากกลุ่มศิลปินและช่างภาพ ทั้ง 7 คน มีความเห็นร่วมกัน ที่จะไปหาแรงบันดาลใจ และวัตถุดิบ ที่จังหวัดกระบี่เมื่อปลายปี 2560 จากชุมชนที่จะถูกผลกระทบจากการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน และนักกิจกรรม ที่ต่างร่วมกันต่อต้านการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินดังกล่าว

จากการศึกษาเบื้องต้น พบว่าพื้นที่ทางทะเล บริเวณที่จะสร้างโรงไฟฟ้า ตลอดจนเส้นทางขนถ่ายถ่านหิน ที่เดินทางมาจากต่างประเทศทางทะเล อยู่ในบริเวณที่ถือว่าเป็นหัวใจของระบบนิเวศวิทยาทางทะเลของอันดามันตอนใต้ ครอบคลุมพื้นที่ตั้งแต่ ระนอง นครศรีธรรมราช พังงา กระบี่ ตรัง สตูล ไปจนถึงเกาะลังกาวี ของประเทศมาเลเซีย และหมู่เกาะทั้งหมดในชายฝั่งอันดามัน ที่จะได้รับผลกระทบทั้งหมด

ระบบนิเวศวิทยาทางทะเลในบริบทนี้ หมายถึงแหล่งกำเนิดและรักษาความมั่นคงของระบบธรรมชาติพื้นฐานของทะเล อันได้แก่ คลองเชื่อมน้ำกร่อย ป่าโกงกาง หญ้าทะเล แนวปะการัง กัลปังหา แนวเกาะหินใต้ทะเล ที่เป็นแหล่งกำเนิดชีวิต และอาหารของทะเล ทั้งหมด ได้แก่ ปลากว่า 360 ชนิด พยูน ปู กุ้ง เคย กั๊ง และหอย ต่าง ๆ นิทรรศการครั้งนี้จะมุ่งความสนใจไปที่ชาวบ้านที่อาศัยโดยรอบทั้งบนเกาะและบนบก  จะเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด  โดยเฉพาะกลุ่มชาติพันธ์อุรักลาโว้ย ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมมาตลอด จนถึงขั้นสูญเสียที่ทำกิน แหล่งอาหาร แหล่งรายได้ และความสูญสลายทางสังคม, พื้นที่ศักดิ์สิทธิ และวัฒนธรรมพื้นฐานของชาวเล

โรงไฟฟ้าถ่านหินทั้ง 2 ในกระบี่และเทพา ได้รับเสียงคัดค้าน และการต่อต้านอย่างกว้างขวางจากกลุ่มชาวบ้าน และองค์กรต่างๆที่ได้ทำการศึกษาและค้นพบว่ามันเป็นภัยอย่างรุนแรงต่อสิ่งแวดล้อม และการทำมาหากินของประชาชนในบริเวณดังกล่าว ที่ขึ้นอยู่กับการประมงและการท่องเที่ยวในทั้งสองจังหวัด ผลการต่อต้านได้ช่วยให้กระทรวงพลังงานตัดสินใจหยุดการเริ่มดำเนินการก่อสร้างโรงไฟฟ้าเป็นเวลา 3 ปี เพื่อทำการดำเนินการศึกษาและประเมินผลทางสิ่งแวดล้อมใหม่อีกครั้ง ถึงแม้ว่าจะดูเหมือนเป็นขัยชนะครั้งสำคัญของฝ่ายต่อต้าน ชุมชมและนักเคลื่อนไวต่างก็รู้สึกว่ามันเป็นเพียงความพยายามที่จะการประวิงเวลาออกไปชั่วคราว เนื่องจากผู้เสนอโครงการโรงไฟฟ้านี้ยังเป็นบุคคลสำคัญที่มีอำนาจผลักดันในระดับการเมืองอยู่ดี ศิลปินและนักกิจกรรมทั้ง 7 ท่านเชื่อว่าเรายังคงต้องร่วมกันสร้างความรู้ความเข้าใจ และร่วมถกเถียงประเด็นสำคัญนี้กันต่อไป

จากการศึกษาและประสบการณ์การทำงานศิลปะกับชุมชนของศิลปินกลุ่มนี้ ได้ตั้งข้อสังเกตุว่า ปัจจัยหลักสำคัญที่ช่วยให้การต่อสู้กับผู้มีอำนาจและปกป้องตัวเองจากการถูกเอารัดเอาเปรียบกจากนักการเมือง หรือระบบทุนนิยม คือการต่อสู้และรวมตัวกันอย่างเข้มแข็งของกลุ่มชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบโดยตรง ชุมชนและผู้นำต้องมีความหนักแน่น ต้านทางแรงซื้อหรือการทุจริตจากกลุ่มภายนอก นอกจากนี้ยังต้องมีความรู้ความเข้าใจอย่างลึก เกี่ยวกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับพื้นที่อาศัยชุมชนของตนเองในระยะยาว

นิทรรศการครั้งประกอบไปด้วย ศิลปะวีดีโอ ศิลปะจัดวาง ภาพวาด ภาพถ่าย งานกวี งานสื่อผสม และการแสดงสด

Since the political turmoil against the government of Thaksin Shinawatra led to the 2006 coup, contemporary art in Thailand had seen a rise in politically charged work. After the 2014 coup, however, a number of art and cultural professionals have struggled with self-censorship, the junta ban on cultural activities and a climate of fear.

After the 2014 coup Thailand’s art scene changed its function dramatically due to self-censorship. Polarization in Thailand raised tensions within the art world as much as in any other social sectors. But that has also added a healthy debate and much-needed criticism in and of Thai art.

The exhibition is a project, co-ordinated by Community Art Project, involving seven Thai artists/activists. Some of them were pioneers in raising awareness of pressing political and social issues in Thailand. Group members became known for their radical work in various media and collaborations with other socially engaged artists. Using performance art, poetry, installation, mixed media, literature, VDO and photography, they were identified with the changes in society since the 1970s, when several of them formed associations including Asiatopia. Some of them took part in rallies and called for public monuments to the uprisings against dictatorship and brought social and political issues into the realm of art.

The social and advocacy project they have highlighted include environmental issues, the rights of sex workers, capitalism, cultural change, the impact of development and urbanisation on indigenous and minority groups, corruption and many other issues.

STATEMENT/S

Text Link